Translate

15 กุมภาพันธ์ 2556

ประวัติ กติกา แบดมินตัน


ประวัติกีฬาแบดมินตัน


แบดมินตันในต่างประเท
กีฬาแบดมินตันเชื่อว่ามีการเล่นครั้งแรกที่ยุโรปสมัยตอนปลายศตสรรษที่ 17 แต่ไม่มีหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเล่นกันแพร่หลายในหมู่พระราชวงศ์ของสำนักต่างๆ และมีชื่อเรียกต่างกันไปด้วย
ประวัติของกีฬาแบดมินได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานที่แน่นอนในปี ค.ศ. 1870 คือ กีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย เมืองปูนา ภายหลังนายทหารอังกฤษ ที่ประจำการอยู่ที่นั่นนำเอาการเล่นแบบนี้ไปเผยแพร่ที่ประเทศอังกฤษและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขาวง โดยเฉพาะที่คฤหาสน์ "แบดมินตัน" ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด และกีฬาลูกขนไก่ก็มีชื่อเรียกว่า "แบดมินตัน" ต่อมาชาวยุโรปี่อพยพไปอยู่อเมริกา นำเอากีฬานี้ไปเผยแพร่ด้วย ร่วมทั้งประเทศอื่นๆในทวีปเอเชียก็ได้รับการเผยแพร่ต่อๆกันมา
สมาคมแบดมินตันได้ตั้งขึ้นในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1893 โดยเรียกว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ หรือเรียกว่า"ออลอิงแลนด์" โดยเริ่มจัดตั้งอต่ปี ค.ศ.1889 และในปี ค.ศ. 1934 ได้ตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างชาติขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน มีบทบาทในการกำหนด และควบคุมระเบียบข้อบังคับและกติกาด่างๆ ของเกมแบดมินตันทั่วโลก ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า 60 ประเทศ
เซอร์ จอร์ช โธมัส เป็นนักแบดมินตันของอังกฤษที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสหพันธ์คนแรก เขาได้มอบถ้วยโธมัส สำหรับการแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศ กีฬาแบดมินตันเป็นที่นิยมเล่นทั้งชายและหญิง สหพันธ์จึงจัดให้มีการแข่งขันแบดมินตันสำหรับสตรีขึ้น โดยได้รับถ้วยรางวัลซึ่งบริจาคโดย มิสซิส เอช. อูเบอร์ อดีตนักกีฬาแบดมินตันของอังกฤษ เรียกว่า "อูเบอร์คัพ" เริ่มจัการแข่งขันเมื่อปี 1955 สำหรับการแข่ง "ออลอิงแลนด์" ถือเป็นการแข่งขันประจำปี วงการแบดฯจะยกย่องผู้ที่ชนะเลิศในประเภทต่างๆ ว่าเป็นแชมเปี้ยนโลกอย่างไม่เป็นทางการเสมอ

แบดมินตันในประเทศไทย
กีฬาแบดฯ ในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อราวๆปี พ.ศ. 2456 โดยพระยาพิพัทกุลพงษ์ นำมาเผยแพร่ โดยตั้งคอร์ดไว้ที่บ้านให้ลูก หลาน เพื่อนฝูง 
ญาติมิตรมาเล่นกันเป็นประจำ ตอนแรกๆมักนิยมเล่นฝ่ายละ 3 คน

ราวปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้เปิดการแข่งขันแบดมินตันทั้งไปเป็นครั้งแรก พระยาจินดารักษณ์ได้ริเริ่มตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยขึ้น
ในปี พ.ศ. 2494 และไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันระหว่างชาติด้วย สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดฯที่มีฝีมือดีอยู่ 

จนได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศถ้วยโธมัสประจำปี 2494-2495 และได้เข้าแข่งขันถึงรอบชิงชนะเลิศที่ประเทศอินเดีย

ประชาชนชาวไทญนิยมเล่นกีฬาแบดฯเป็นจำนวนมากจึงมีการเปิดการเรียนการสอนทั้งในและนอกโรงเรียนด้วย มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่น
จนสามารถส่งออกไปขายประเทศใกล้เคียงอีกด้วย 

ที่มา  http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-6/no28/profile.html


กติกาการเล่นแบดมินตัน 


                       

กติกาเบื้องต้น
   1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแต่งต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
   2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
         1. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
         2. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
         3. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
         4. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
         5. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
   3. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
   4. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา(Over net)
สหพันธ์ แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
รายละเอียดของกติกาการนับคะแนนมีดังนี้
1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน  ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ  แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน  ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน  หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น  ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ  แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น  ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน  ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้  ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก  หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก
หมายเหตุ  ศึกษากติกาโดยละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การดิวส์
หาก ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้เท่ากันในคะแนนที่ 20 จะมีการเล่นต่อ จนกว่าว่าจะมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน แต่ถ้ายังไม่สามารถทำคะแนนห่างกัน 2 แต้มได้ จะเล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ เมื่อแต้มได้ 29 เท่ากัน ใครที่ทำได้แต้ม 30 ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ

มารยาทการเล่น


มารยาทผู้เล่น
1. ผู้แข่งขันต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เข้าแข่งขันเป็นนักกีฬาสมัครเล่น ซึ่งต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะให้อภัยแกความผิดพลาดทุกโอกาส โดยไม่คำนึงถึงผลแพ้ชนะเป็นสำคัญจนเกินไป
2. ผู้เข้าแข่งขันแต่งกายด้วยชุดกีฬาสีขาว สะอาด เรียบร้อย
3. ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อคู่แข่งขันแสดงออกถึงมิตรภาพความสุภาพ อ่อนโยนด้วยการสัมผัสมือ หรือเปิดโอกาสให้คู่แข่งขันได้วอร์ม รวมทั้งไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้หรือคู่แข่งขันในการเสี่ยง ให้โอกาสคู่ต่อสู้เป็นผู้นำการเลือกเสี่ยงก่อน
4. ไม่แสดงกริยาที่ไม่ดีเมื่อทำเสียเอง ด้วยท่าทางหรือคำพูด รวมทั้งการกล่าวตำหนิผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
5. ใช้คำพูดที่สุภาพในการแข่งขัน
6. การถามข้อสงสัย หรือถามคะแนนต่อผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
7. การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ตัดสิน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้แข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่ระมัดระวัง และเมื่อได้ทำการอุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์ต้องอยู่ในความสงบ และพร้อมที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ และเมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
8. เมื่อขณะดำเนินการแข่งขันอยู่หากจะหยุดพัก เช่น ขอเช็ดเหงื่อ ดื่มน้ำ เปลี่ยนแร็กเกต เปลี่ยนรองเท้าถุงเท้า ฯลฯ ต้องขออนุญาตผู้ตัดสินทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุญาติแล้วจึงปฏิบัติได้
9. ในการส่งลูกเสียไปให้คู่ต่อสู้จะต้องส่งลูกข้ามตาข่ายไปให้เสมอ การส่งลูกลอดใต้ตาข่ายไปให้คู่ต่อสู้ถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรง
10. ในระหว่างการแข่งขัน ถ้าผู้ตัดสินทำหน้าที่ผิดพลาดแต่เราอยู่ในฐานะได้เปรียบไม่ควรใช้ความได้เปรียบนั้นเป็นประโยชน์
11. การตีลูกเสีย นักกีฬาที่ดีต้องร้องออกมาดัง ๆ ว่า "เสีย" โดยไม่ต้องรอให้ผู้ตัดสินร้องออกมาก่อน แต่ถ้าผู้ตัดสินดูไม่ทัน ผู้ตีลูกเสียไม่ควรจะฉวยโอกาสเล่นต่อไปด้วย เพราะการฉวยโอกาสเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
12. เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ถ้าเราเป็นฝ่ายชนะจะต้องไม่แสดงความดีใจจนเกินควร ต้องเข้าไปจับมือคู่แข่งขันทันทีพร้อมแสดงความเสียใจ ถ้าเป็นฝ่ายแพ้ไม่ควรจะแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต้องควบคุมอารมณ์ และรีบไปแสดงความยินดีกับคู่แข่งโดยทันทีเหมือนกัน
13. ยอมรับและเชื่อฟังการตัดสินโดยไม่โต้แย้ง และเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันควรแสดงความเคารพผู้ตัดสิ้น
14. ในสนามที่มีผู้มารอเล่นอยู่มาก และไม่ใช่การแข่งขัน ไม่ควรเล่นกันนานจนเกินไป ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้าง

มารยาทผู้ชม
1. แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เป็นการให้เกียรติแก่การแข่งขันนั้น ๆ
2. ให้เกียรติแก่นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการปรบมือเมื่อมีการแนะนำคู่แข่งขัน
3. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ และไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนไม่น่าดู
4. ขณะการแข่งขันยังดำเนินอยู่ไม่ควรรบกวนสมาธิของผู้แข่ง หรือผู้ชมด้วยกัน
5. การนิ่งเงียบ ในขณะที่นักกีฬากำลังเล่นถือว่าเป็นมารยาทของผู้ชมที่ดี
6. ควรปรบมือเมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นได้ดี สวยงาม และกระทำเมื่อลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น
7. ไม่แสดงออกด้วยกิริยา หรือวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของกรรมการ ขณะทำการแข่งขัน แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาด
8. เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ควรปรบมือเป็นเกียรติแก่นักกีฬาทั้งสองฝ่าย

มารยาท ผู้ตัดสิน
1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่สำรวมไม่หลอกล้อกับผู้หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ลุกลน

2. ระหว่างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ตลอดจนผู้คุ้นเคยอื่น ๆ พยายามตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการตัดสิน ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาดถูกต้อง แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่แสดงอารมณ์ออกมา ควรใช้วาจาเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฟัง และไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดฐานะของตนเอง อันเป็นการทำให้เสื่อมศักดิ์ศรี และเป็นการนำไปสู่การทะเลาะวิวาทหรือทำให้เกิดคับข้องขุ่นเคืองใจได้

3. เมื่อจบการแข่งขัน หลังจากตรวจใบนับคะแนนเรียบร้อยแล้ว ควรรีบออกจากสนามแข่งขันทันที ไม่ควรรีรออยู่เพื่อขออภัยในความผิดพลาดในการตัดสิน หรือเพื่อแสดงความยินดีหรือเสียใจต่อคู่แข่ง ไม่ควรแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีการถกเถียงกัน ในกรณีที่มีผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์ ควรให้ความร่วมมือด้วยอัธยาศัยอันดี โดยชี้แจงอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในขอบเขตของการเป็นผู้ตัดสิน แต่ไม่ควรแสดงความคิดเห็นที่ซ้ำเติม หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น

ที่มา http://blog.eduzones.com/jipatar/85917


อุปกรณ์แบดมินตัน

ไม้แร็กเกต


ไม้แร็กเกตมีหลายประเภท เช่น ไม้ล้วน ๆ ไม้ผสมโลหะ และโลหะล้วน ๆ มีขนาดและน้ำหนักไม่เท่ากันแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ไม้แร็กเกตที่ดีต้องขึงเอ็นตึง ไม้ไม่บิดเบี้ยว เมื่อเอามือกดเอ็นไม่หย่อน หรือในการตรวจสอบดูว่า เอ็นตึงหรือไม่ โดยใช้เอ็นตีฝ่ามือ ฟังเสียงเอ็นนั้น หรือใช้หลังเล็บกรีดเอ็นจากล่างขึ้นบนแล้วฟังเสียงเอ็นนั้น เสียงสูงย่อมหมายถึงตึงมาก แสดงว่าขึงเอ็นตึงดีแล้ว จากการวิจัยและทดสอบมีข้อยืนยันเกี่ยวกับชนิดของเอ็นที่ใช้ขึงแร็กเกตว่าขนาดของเอ็นเส้นเล็ก จะมีแรงสปริงดีกว่าเอ็นเส้นใหญ่
ไม้แร็กเกตแบดมินตันมีน้ำหนักเบาประมาณ 4 – 5.5 ออนซ์ โดยปกติความยาวของไม้แร็กเกตแบดมินตันจะมีความยาวประมาณ 26 นิ้วฟุต และเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อน การเลือกไม้แร็กเกตแบดมินตันจึงควรทำด้วยความรอบรู้เพื่อประหยัดทั้งทรัพย์และสูงด้วยประสิทธิภาพที่จะนำไปใช้ ไม้แร็กเกตที่มีน้ำหนักมากจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มแรงเหวี่ยงขณะตีลูก แต่มีข้อเสียที่ทำให้ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ความสำคัญของการเลือกไม้แร็กเกตแบดมินตัน ขึ้นอยู่กับความสมดุลย์ของน้ำหนักถ่วงระหว่างหัวไม้ กับปลายไม้มากกว่าสิ่งอื่น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกไม้แร็กเกตนี้คือ ความรู้สึกขณะสัมผัส หมายถึง ขณะจับไม้ขึ้นอยู่กับขนาดของด้านจับ และแรงกระจายน้ำหนักของไม้ หัวไม้จะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับการถือไม้ของผู้เล่น แร็กเกตบางอันมีน้ำนหนักเฉลี่ยสมดุลย์กันทั้งด้านหัวและด้ามจับ วิธีการเลือกไม้แร็กเกตควรจะเลือกหลาย ๆ ชนิด จนกว่าจะพบหน้าไม้มีความสมดุลย์และถือได้สบาย ผู้เล่นสามารถควบคุมหน้าไม้และเพิ่มพลังในการตีลูกได้ด้วย
ไม้แร็กเกตถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากซึ่งถ้าเปรียบแร็กเกตคงเทียบได้กับอาวุธที่สำคัญประจำตัวของนักรบในสนามรบเลยทีเดียว นักรบที่มีความสามารถประกอบกับมีอาวุธที่ดีย่อมชนะการแข่งขันได้ง่าย ดังนั้นการเลือกหาแร็กเกตที่มีคุณภาพดีมีประสิทธิภาพสูงไว้เป็นคู่มือในการฝึกหรือเล่น จึงเป็นเรื่องที่ผู้เล่นจะต้องศึกษาให้ละเอียดเสียก่อน ต้องรู้และเข้าใจถึงคุณภาพแร็กเกตในแต่ละชนิด
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ มิได้ตราข้อกำหนดสำหรับเรื่องน้ำหนักหรือขนาดของไม้แร็กเกตแต่อย่างใด คงปล่อยให้บริษัทผู้ผลิตไม้แร็กเกตกำหนดและออกแบบรูปร่าง น้ำหนักและขนาดของไม้แร็กเกตตามรสนิยมของนักแบดมินตันโดยทั่วไป

ลูกขนไก่


ลูกขนไก่เป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งที่ทำขึ้นอย่างละเอียดอ่อน คุณภาพของลูกขนไก่มีความสำคัญมาก เพราะหากนำลูกขนไก่ที่ด้อยคุณภาพมาใช้ในการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน อาจเป็นผลทำให้การฝึกซ้อมหรือแข่งขันไม่ประสบผลเท่าที่ควร
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ได้กำหนดให้ลูกขนไก่ที่ใช้ในการแข่งขัน อาจจะทำด้วยวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุสังเคราะห์ก็ได้ แต่ต้องมีวิถีการวิ่งเหมือนวัสดุธรรมชาติมีหัวเป็นไม้คอร์กเป็นฐาน ห่อหุ้มด้วยหนังบาง มีขน 16 ขน ปักบนฐานบนเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ถึง 1 เศษหนึ่งส่วนแปดนิ้ว ความยาวของขน 2 นิ้วครึ่ง ถึง 2 นิ้วเศษสามส่วนสี่นิ้ว โดยตอนปลายของขนแผ่เป็นวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว ถึง 2 เศษห้าส่วนแปดนิ้ว มีด้ายมัดติดกันจนแน่น มีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 กรัม ถึง 5.50 กรัม

สนาม


สนามจัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากกีฬาแบดมินตันได้วิวัฒนาการจากกีฬาที่นิยมเล่นกลางแจ้ง แต่เดิมเคยใช้สนามหญ้าหรือสนามดิน หรือปูนซีเมนต์มาสู่ความเป็นมาตรฐานที่อยู่ในร่ม ตามประวัติสนามที่เป็นมาตรฐานในร่มแห่งแรกได้ริเริ่มสร้างที่สโมสรยูนิตี้ โดยคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร หรือนายประวัติ ปัตตพงษ์ ซึ่งท่านได้รับการยกย่องจากวงการแบดมินตันว่าเป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันไทย ท่านมีเป้าหมายเพื่อฝึกผู้เล่นให้เคยชินกับสภาพในร่ม ในระยะแรก ๆ นั้น สนามแบดมินตันในร่มนิยมทำด้วยปูนซีเมนต์ทาสี หรือวัสดุที่ทำให้เกิดความฝืด ต่อมาพัฒนาปรับปรุงเป็นพื้นไม้ปาร์เกต์ที่มีความสวยงามยืดหยุ่น และมีความฝืดพอสมควร ซึ่งพบเห็นมากในปัจจุบันนี้ ในทางตรงกันข้ามต่างประเทศกลับพัฒนาแบดมินตันในร่มไปเป็นพื้นที่เป็นยางผสมพลาสติก ซึ่งมีความฝืดมากกว่าสนามที่ปูด้วยไม้ปาร์เกต์เสียอีก ทำให้นักกีฬาไทย พบกับปัญหาในการแข่งขันในต่างประเทศ และความแตกต่างของพื้นสนามชนิดนี้ทำให้มีการสั่งซื้อมาใช้ในประเทศอยู่หลายแห่งจนปัจจุบันนักกีฬา มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับสนามในประเภทนี้

ที่มา http://www.tlcthai.com/sports/clip-vdo/3748/แบดมินตัน-อุปกรณ์-ไม้แร.html


กฎกติกาแบดมินตัน
1. สนามและอุปกรณ์สนาม
1.1 สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มม. ตามภาพผัง ก. 1.2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง 1.3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้ 1.4 เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 1.10 โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้) 1.5 เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพผัง ก. โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่ 1.6 ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มม. และไม่เกิน 20 มม. 1.7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มม. และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร 1.8 ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มม. ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว 1.9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา 1.10 สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่ 1.11 ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็น ต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา
2. ลูกขนไก่
2.1 ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ และ/หรือ วัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม ลักษณะวิถีวิ่งทั่วไป จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากขนธรรมชาติ ฐานเป็นหัวไม้ก๊อก หุ้มด้วยหนังบาง 2.2 ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน 2.3 วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 62 มม. ถึง 70 มม. 2.4 ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58 มม. ถึง 68 มม. 2.5 ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม 2.6 ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. ถึง 28 มม. และส่วนล่างมนกลม 2.7 ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม 2.8 ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ   2.8.1 ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ   2.8.2 ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6   2.8.3 ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะ และคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติ ยอมให้มีความแตกต่างได้ถึง 10% 2.9 เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติ จาก องค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้องในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม
3. การทดสอบความเร็วของลูก
3.1 การทดสอบ ให้ยืนหลังเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรง โดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลัง ลูกจะพุ่งเป็นมุมสูง และอยู่ในแนวขนานกับเส้นเขตข้าง 3.2 ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 530 มม. และไม่มากกว่า 990 มม. (ภาพผัง ข.)
4. แร๊กเกต
4.1 เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มม. ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5
4.1.1 ด้านจับ เป็นส่วนของแร๊กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ   4.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก   4.1.3 หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น   4.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)   4.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง 4.2 พื้นที่ขึงเอ็น   4.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ และ   4.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มม. อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มม. และความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มม. 4.3แร๊กเกต   4.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่นสะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่น และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ   4.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต  

5. การยอมรับอุปกรณ์
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ จะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาของแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฏเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เองหรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคล ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือสมาชิกขององค์กรนั้น ๆ
6. การเสี่ยง
6.1 ก่อนเริ่มเล่น จะต้องทำการเสียง ฝ่ายที่ชนะการเสียง มีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 6.1.1 หรือ 6.1.2   6.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกก่อน   6.1.2 เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง  6.2 ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก 
7. ระบบการนับคะแนน
7.1 แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น 7.2 ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5 7.3 ในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม ฝ่ายที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5 7.4 ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน (ดูกติกาข้อ 10.3 หรือ 11.5) 7.5 ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนนก่อน มีสิทธิ์เลือกในกติกาข้อ 7.5.1 หรือ 7.5.2:-   7.5.1 ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ ไม่เล่นต่อ ในเกมนั้น หรือ 7.5.2   7.5.2 เล่นต่อ เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน  7.6 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป 
8. การเปลี่ยนข้าง
8.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง:   8.1.1 หลังจากจบเกมที่ 1   8.1.2 ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี) และ   8.1.3 ในเกมที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนนำถึง     - 6 คะแนน สำหรับเกม 11 คะแนน     - 8 คะแนน สำหรับเกม 15 คะแนน 8.2 ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 8.1 ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น และให้นับนับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น
9.การส่งลูก
9.1 ในการส่งลูกที่ถูกต้อง   9.1.1 ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันทีที่ผู้ส่งลูก และผู้รับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว   9.12 ผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องยืนในสนามส่งลูกทะแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก   9.13 บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องแตะพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.5)   9.14 จุดสัมผัสแรกของแร็กเกตผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก   9.15 ทุกส่วนของลูกจะต้องอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่ง ขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูก   9.16 ก้านแร็กเกตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า ส่วนหัวทั้งหมดของแร็กเกตอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับแร็กเกตของผู้ส่งลูก ตามภาพผัง ง.   9.17 การเคลื่อนแร็กเกตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว และ   9.18 วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากแร็กเกตของผู้ส่งลูกข้ามตาข่าย และถ้าปราศจากการสะกัดกั้น ลูกจะตกลงบนพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก (กล่าวคือ บนหรือภายในเส้นเขต) 9.2 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง ตามกติกาของข้อ 9.1.1 ถึง 9.1.8 ถือว่าฝ่ายทำผิด เสีย (กติกาข้อ 13) 9.3 ถือว่า เสีย ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งลูก โดยตีไม่ถูกลูก 9.4 เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนแร็กเกตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า เริ่มส่งลูก 9.5 ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.4) ถ้าแร็กเกตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามจะส่งลูกแต่ตีไม่ถูกลูก 9.6 ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม แต่ถือว่าผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป 9.7 ในประเภทคู่ คู่ขาจะยืน ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก
10. ประเภทเดี่ยว
10.1 สนามส่งลูกและรับลูก   10.1.1 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้ส่งลูกทำคะแนนไม่ได้ หรือคะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น   10.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น 10.2 ผู้ส่งลูกและรับลูกจะตีโต้ลูกจนกว่าจะเกิด เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น 10.3 คะแนนและการส่งลูก   10.3.1 ถ้าผู้รับทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้รับ ผู้ส่งลูกได้คะแนน ผู้ส่งจะได้ส่งลูกต่อไปในสนามส่งอีกด้านหนึ่ง   10.3.2 ถ้าผู้ส่งทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์การส่งลูก และผู้รับก็จะได้เป็นผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.ประเภทคู่
11.1 เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่ง ต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา 11.2 ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัว หรือคู่ขาของผู้รับตีลูก ถือว่า เสีย ผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน 11.3 ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาม   11.3.1 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่า ลูกไม่อยู่ในการเล่น   11.3.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น 11.4 สนามส่งลูกและรับลูก   11.4.1 ผู้เล่นมีสิทธิ์ส่งตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะส่งหรือรับลูกในสนามส่งด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่   11.4.2 ผู้เล่นที่เป็นผู้รับตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่   11.4.3 ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน  11.5 คะแนนและการส่งลูก   11.5.1 ถ้าฝ่ายรับทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกต่ออีก   11.5.2 ถ้าฝ่ายส่งทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน 11.6 การส่งลูกทุกครั้ง ต้องส่งจากสนามส่งลูก สลับกันไป ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และ ข้อ 14 11.7 ในการเริ่มต้นเกมใดก็ตาม ผู้มีสิทธิ์ส่งลูกคนแรก ส่งลูกจากสนามด้านขวาไปยังผู้รับลูกคนแรกและจากนั้นไปยังคู่ขาของผู้รับตามลำดับไป จนกระทั่งเสียสิทธิ์และเปลี่ยนส่งไปให้ฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องเริ่มส่งจากสนามด้านขวา (กติกาข้อ 11.4) จากนั้นจะให้คู่ขาส่ง จะเป็นเช่นนี้ตลอดไป 11.8 ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง หรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ หรือรับลูกติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และ 14 11.9 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้ และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้ 
12. ความผิดในสนามส่งลูก
12.1 ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น   12.1.1 ส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง   12.1.2 ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ผิด หรือ   12.1.3 ยืนผิดสนามและได้เตรียมพร้อมที่จะรับลูกที่ส่งมา 12.2 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกก่อนส่งลูกครั้งต่อไป   12.2.1 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและชนะในการตีโต้ ให้ เอาใหม่   12.2.2 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและแพ้ในการตีโต้ ไม่มีการแก้ไขความผิด   12.2.3 หากทั้งสองฝ่ายทำความผิดด้วยกัน ให้ เอาใหม่ 12.3 ถ้ามีการ เอาใหม่ เพราะความผิดในสนามส่งลูก ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข 12.4 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกหลังจากได้ส่งลูกครั้งต่อไปแล้ว จะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น ให้เล่นต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น (หรือให้เปลี่ยนลำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)
13. การทำเสีย
ถือว่า "เสีย" 13.1 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 9.1) หรือตามกติกาข้อ 9.3 หรือ 11.2 13.2 ถ้าในขณะเล่น ลูกขนไก   13.2.1 ตกลงบนพื้นนอกเส้นเขตสนาม (กล่าวคือ ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม)   13.2.2 ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย   13.2.3 ไม่ข้ามตาข่าย   13.2.4 ถูกเพดาน หรือ ฝาผนัง   13.2.5 ถูกตัวผู้เล่น หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น   13.2.6 ถูกวัตถุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคารผู้มีอำนาจเกี่ยวกับ แบดมินตันท้องถิ่น อาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ ทั้งนี้ ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก) 13.3 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง (อย่างไรก็ดี ผู้ตีอาจใช้แร็กเกตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก) 13.4 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น ผู้เล่น   13.4.1 ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว หรือด้วยเครื่องแต่งกาย   13.4.2 ล้ำบนตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว ยกเว้นตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในกติกาข้อ 13.3   13.4.3 ล้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ด้วยแร็กเกต หรือด้วยตัว จนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่ต่อสู้   13.4.4 กีดขวางคู่ต่อสู้ กล่าวคือ กันไม่ให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา 13.5 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่ต่อสู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น ร้องตะโกนหรือแสดงท่าทาง 13.6 ถ้าระหว่างการเล่น ลูกขนไก   13.6.1 ติดอยู่ในแร็กเกต แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก   13.6.2 ถูกตีสองครั้งติดต่อกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกัน   13.6.3 ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นติดต่อกัน หรือ   13.6.4 ถูกแร็กเกตของผู้เล่นคนหนึ่ง แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น 13.7 ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือผิดพลาดอยู่ตลอด ตามกติกาข้อ 16 13.8 ถ้าหลังจากส่งลูกแล้วลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย
14. การ "เอาใหม่"
14.1 การ เอาใหม่ จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน หรือ โดยผู้เล่น (ถ้าไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน) ขานให้หยุดเล่น   14.1.1 ให้ "เอาใหม่" ถ้าผู้ส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม (ดูกติกาข้อ 9.6)   14.1.2 ให้ "เอาใหม" ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับและผู้ส่งลูกทำ เสีย พร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาเดียวกัน    14.1.3 ให้ "เอาใหม" ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่ายยกเว้นในการส่งลูก   14.1.4 ให้ "เอาใหม่" ถ้าในระหว่างการเล่น ลูกขนไก่แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง   14.1.5 ให้ "เอาใหม" ถ้ากรรมการกำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้   14.1.6 การ เอาใหม่ สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดในสนามส่งลูก ตามที่ระบุในกติกาข้อ 12.2.1 หรือ 12.2.3 หรือ   14.1.7 ให้ เอาใหม่ สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน หรือโดยเหตุบังเอิญ 14.2 เมื่อมีการ เอาใหม่ การเล่นหลังจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ 12
15. ลูกไม่อยู่ในการเล่น
ลูกไม่อยู่ในการเล่น เมื่อ 15.1 ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย 15.2 ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก 15.3 ลูกถูกพื้นสนาม หรือ 15.4 เกิดการ เสีย หรือการ "เอาใหม่"
16. การเล่นต่อเนื่อง, การทำผิด, การลงโทษ
16.1 การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนสิ้นสุดการแข่งขัน ยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ 16.2 และ 16.3 16.2 พักระหว่างการจบเกมที่ 1 และเริ่มเกมที่ 2 ได้ไม่เกิน 90 วินาที และไม่เกิน 5 นาที ระหว่างจบเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 3 อนุญาตสำหรับทุกแมทช์ของการแข่งขัน (ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า การพักตามกติกาข้อ 16.2 อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด) 16.3 พักการเล่น เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น   16.3.1 เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น 16.3.2 ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น   16.3.3 ถ้ามีการพักการเล่น คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิม และจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น 16.4 การถ่วงเวลาการเล่น   16.4.1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลัง หรือหายเหนื่อย   16.4.2 กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าแต่เพียงผู้เดียว 16.5 คำแนะนำและการออกนอกสนาม   16.5.1 ห้ามผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ 16.2 และ 16.3   16.5.2 ห้ามผู้เล่นเดินออกนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรม การผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างพัก 5 นาที ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 16.2 16.6 ผู้เล่นต้องไม่ จงใจถ่วงเวลา หรือพักการเล่น จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี แสดงกิริยาก้าวร้าว หรือ กระทำผิดนอกเหนือกติกา 16.7 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ 16.4, 16.5 หรือ 16.6 โดย   16.7.1 เตือนผู้กระทำผิด   16.7.2 ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิดหลังจากได้เตือนก่อนแล้ว   16.7.3 ในกรณีผิดอย่างเห็นได้ชัด หรือผิดอยู่ตลอด ให้ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิด แล้วรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันที ซึ่งกรรมการผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิดออกจากการแข่งขัน
17. กรรมการสนามและการอุทธรณ์
17.1 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด 17.2 หากมีการแต่งตั้ง กรรมการผู้ตัดสิน ให้มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สนาม และบริเวณโดยรอบสนามแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด 17.3 กรรมการกำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน เสีย สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งลูกเป็นผู้กระทำผิด (กติกาข้อ 9) 17.4 กรรมการกำกับเส้นเป็นผู้ให้สัญญาณ ดี หรือ ออก ในเส้นเขตที่ได้รับมอบหมาย 17.5 การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด  17.6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง   17.6.1 ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้กฏกติกาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาน เสีย หรือ เอาใหม่ เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น   17.6.2 ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป   17.6.3 แน่ใจว่า ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน   17.6.4 แต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการกำกับเส้น หรือกรรมการกำกับการส่งลูก หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว   17.6.5 หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามอื่น จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย   17.6.6 หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็น ต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น หรือให้ "เอาใหม่"   17.6.7 บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ 16 และ   17.6.8 เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาต่อกรรมการผู้ชี้ขาด (คำอุทธรณ์ดังกล่าว จะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป หรือเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนที่ฝ่ายอุทธรณ์จะเดินออกจากสนาม)
ที่มา https://goo.gl/38zuzh

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น