กีฬาเทเบิลเทนนิส
กีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นไม่ยากนัก
เป็นกีฬาที่เล่นได้ทุกวัย เป็นกีฬาที่ไม่ต้องใช้เนื้อที่เยอะ จึงเป็นที่นิยมกันมาก
และยังเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความรวดเร็ว ความแม่นยำ และไหวพริบในการเล่นเป็นอย่างมาก
ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส
กีฬาปิงปองเท่าที่มีหลักฐานพบว่า เริ่มเล่นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ประเทศอังกฤษ
ในอดีตไม้ที่ใช้เล่นหุ้มด้วยหนังสัตว์ คล้ายไม้ปิงปองในปัจจุบัน
ลูกทำจากเซลลูลอยด์ เวลาที่กระทบไม้กับโต๊ะ จะเป็นเสียง "ปิ๊กป๊อก"
กีฬาจึงเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้น ว่า "ปิงปอง"
และได้ปพร่หลายในยุโรปก่อน และได้พัฒนาจากหนังสัตว์เป็นแผ่นไม้แทน
ยุโรปตอนต้นเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) และพัฒนามาเป็น (BLOCKING) และ (CROP) เป็นการเล่นถูกตัด นิยมเล่นในยุโรป
การจับไม้มีอยู่ 2 แบบ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) เรียกว่า "จับแบบยุโรป" และ
จับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) เรียกว่า "จับไม้แบบจีน"
ปี 1900 (พ.ศ. 2443) เริ่มใช้ไม้ที่ติดยางเม็ดมาเล่นกัน
และใช้วิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK OR
OFFENSIVE) ท่าหน้ามือ (FOREHAND) และหลังมือ (BACKHAND) เริ่มใช้กันมากขึ้น
ปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา
ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า "PINGPONG" กีฬานี้จึงเปลี่ยนมาเป็น
"TABLETENNIS" ใช้ชื่อที่เขาจดทะเบียนแล้วไม่ได้
ปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ.
2469) มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม
และเป็นปีที่มีการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ขึ้น
ในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) ญี่ปุ่นสนใจในกีฬานี้มากขึ้น และได้เน้นไปที่การเล่นโดยการตบลูกที่แม่นยำและหนักหน่วง
และการใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า
ในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก
ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย
ในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย และเป็นปีที่
เทเบิลเทนนิสได้รับความนิยมเป็นกีฬาระดับโลกอย่างแท้จริง
ยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา โดยใช้ไม้ที่มียางเม็ดสอดใส้ด้วยฟองน้ำ
ในเรื่องการเล่นญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา
และใช้วิธีการรุกแบบหนักหน่วงและแม่นยำ การเล่นของยุโรปรุกด้วยความแม่นยำ
และมีช่วงตีวงสวิงสั้นๆ
เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางในการตีลูก
เป็นการรุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้
ในปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) สาธารณะประชาชจีนสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้
ด้วยวิธีการเล่นที่โจมตีอย่างรวดเร็วผสมผสานการป้องกัน
และจีนใช้วิธีการเล่นแบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ในปี 1961 (พ.ศ. 2504) ได้มีการจัดการแข่งขันเทเบลเทนนิสชิงชนะเลิศ
ครั้งที่ 26 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จีนชนะญี่ปุ่นได้ โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น
เข้ากับการเล่นแบบจีน จึงเป็นวิธีการเล่นที่เราได้เห็นกันในปัจจุบันนี้
ในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) เป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรป
และผู้เล่นชาวเอเชีย และทำให้ยุโรปชนะเลิศ คว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) นักเทเบิลเทนนิสชาวสวีเดน ชื่อ สเตลัง เบนค์สัน
เป็นผู้เปิดศักราชใหม่ให้ชาวยุโรป
ในปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) ทีมสวีเดนสามารถคว้าแชมป์โลกได้ จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นของตน ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา เริ่มก้าวหน้าขึ้น
ทำให้การตั้งรับซึ่งหายไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น
ได้เกิดการพัฒนาเทคนิคการเล่นโดยการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก
และปรับปรุงหน้าไม้ด้วยยางปิงปอง ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ
เพื่อเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูก
และนับว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีผู้เล่นใหม่ๆ
มีการพัฒนาอุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา
ในปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) กีฬาเทเบิลเทนนิสได้ถูกบรรจุเป็นกีฬาการแข่งขันประเภทหนึ่งในโอลิมปิก
จัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก
กีฬาเทเบิลเทนนิสในประเทศไทย
ในประเทศไทย เทเบิลเทนนิสไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก
รู้จักกันดีในชื่อกีฬาปิงปอง
โดยไม่รู้แน่ชัดว่ามีการนำกีฬาชนิดนี้เข้ามาเล่นในประเทศไทตั้งแต่เมื่อใด
และใครเป็นผู้นำเข้ามา แต่ปรากฏว่ามีการเรียนการสอนมานานกว่า 30 ปี
ในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
และมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ มีการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน
และได้ให้มีการสอนอย่างทั่วถึง
จนถึงปัจจุบันได้มีการบรรจุกีฬาเทเบิลเทนนิสไว้เป็นวิชาบังคับในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา